หน่วยงานทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ

แนะนำภาระงาน
            หน่วยงานทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ  ประกอบด้วยงานต่างๆ  ดังต่อไปนี้
                      1.  งานบันทึกทะเบียนประวัติบุคลากร
                      2.  งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์
                      3.  งานพิจารณาความดีความชอบ
                      4.  งานเลื่อนขั้นเงินเดือน
                      5.  งานเลื่อนระดับ  เลื่อนตำแหน่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย         
ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1. ความรู้เรื่องประเภทและชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์์
         เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท และหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้
               1.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็น

  มงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ ร.ม.ภ.
                  1.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความของในราชการแผ่นดินมี 8 ชนิด คือ
                         (1) เครื่องขัตติยราชภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ม.จ.ก.
                         (2) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ น.ร.
                         (3) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
                         (4) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
                         (5) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
                         (6) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
                         (7) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
                         (8) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
                  1.3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในองค์พระมหากษัตริย์มี 3 ชนิด คือ
                         (1) เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนาวราภรณ์
                         (2) เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์
                         (3) เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา
                               * ปัจจุบันพ้นสมัยพระราชทาน*
                   1.4 เหรียญอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มี 4 ชนิด คือ
                         (1) เหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้า เช่น เหรียญกล้าหาญ เหรียญพิทักษ์เสรีชน เป็นต้น
                         (2) เหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จในราชการ เช่น เหรียญจักรมาลา เหรียญจักรพรรดิมาลา เป็นต้น
                         (3) เหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จในองค์พระมหากษัตริย์ ได้แก่ เหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ
                         (4) เหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก และเหรียญที่ระลึก เช่น เหรียญสตพรรษมาลา เหรียญประพาสมาลา เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เหรียญรัชดาภิเษก ฯลฯ
         ทั้งนี้ จะขอกล่าวเน้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่ว ๆ ไป ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย
         ก. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มี 8 ชั้น

  - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ม.ป.ช.
  - ประถมาภรณ์ช้างเผือก ป.ช.
  - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช.
  - ตริตาภรณ์ช้างเผือก ต.ช.
  - จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช.
  - เบญจมาภรณ์ช้างเผือก บ.ช.
  - เหรียญทองช้างเผือก ร.ท.ช.
  - เหรียญเงินช้างเผือก ร.ง.ช.

         ข. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย มี 8 ชั้น

  - มหาวชิรมงกุฎ ม.ว.ม.
  - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ป.ม.
  - ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม.
  - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ต.ม.
  - จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย จ.ม.
  - เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย บ.ม.
  - เหรียญทองมงกุฎไทย ร.ท.ม.
  - เหรียญเงินมงกุฎไทย ร.ง.ม.

2. ความรู้เรื่องลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
         ความรู้เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการประดับ เพราะจะทำให้เราสามารถประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้อย่าง  ถูกต้อง ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีการจัดลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งปัจจุบันมีเหรียญที่ระลึกเพิ่มขึ้นอีก 1 เหรียญ ในพ.ศ. 2539 ได้แก่ “เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก”
         ในเรื่องนี้จะขอกล่าวเฉพาะลำดับเกียรติของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ ช้างเผือกและมงกุฎไทยซึ่งสามารถเรียงลำดับ ได้ดังนี้

  - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  - มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  - ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
  - ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  - ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
  - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  - จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
  - จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
  - เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
  - เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
  - เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
  - เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.)
  - เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)
  - เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)

        (ส่วนลำดับเกียรติเครื่องราชฯ ทั้งหมดให้ดูตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2536)

     -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนและวิธีการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกฎไทยประจำปี
การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
 
ดูรายละเอียด

 

 

 


วันที่ : 30 ก.ย. 2552
ที่มา :
อ่าน : 3791